โรคอ้วนลงพุง

โรคอ้วน

คือ ภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยจะใช้ค่าร้อยละไขมันในร่างกาย > 20 ในชาย หรือ > 30 ในหญิง ซึ่ง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมที่หน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่ 

อาการของอ้วนลงพุง

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยอ้วนลงพุงจะไม่แสดงอาการใด ๆ นอกจากมีรอบเอวหรือพุงขนาดใหญ่จนเห็นได้ชัดมาจากจากการสะสมของไขมันในช่องท้องจำนวนมากส่งผลให้การผลาญน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ จนน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อีกทั้งยังทำให้ระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย เมื่อเกิดภาวะนี้เป็นระยะเวลานาน ผนังหลอดเลือดแดงจะหนาขึ้นจนอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง

 

สาเหตุของอ้วนลงพุง

ภาวะอ้วนลงพุงนั้นอาจเกิดจากการมีน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ขาดการออกกำลังกาย และการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
บุคคลบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ เช่น
– ผู้สูงอายุ
– ชาวเอเชียหรือผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกาแคริบเบียน
– ในครอบครัวมีภาวะอ้วนลงพุงหรือเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
– ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

คนไทยอายุ 35 ปีขึ้นไปมีปัญหาลงอ้วนลงพุงเกือบร้อยละ 30 ในปี 2011 ที่มีการสำรวจสถานการณ์ความอ้วนในประเทศไทยเทียบเคียงกับประชากรเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน พบว่า ประชากรในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย BMI ≥ 25 อยู่ที่ 32.2% สูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียน เห็นได้ว่าภาวะอ้วนในประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 – 20 ปี

 

ป้องกันอ้วนลงพุง

การป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมน้ำหนักและพฤติกรรมสม่ำเสมอ

 

รักษาอ้วนลงพุง

การรักษาภาวะอ้วนลงพุง คือ การลดน้ำหนักอย่างน้อย5%

1) ออกกำลังกาย ประมาณวันละ 30 นาทีขึ้นไป 5 ครั้งต่อสัปดาห์

2) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ถูกต้อง

3) การใช้ยาลดน้ำหนัก

4) การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร

 

เป้าหมายของการรักษาภาวะอ้วนลงพุง
คือ ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนของอ้วนลงพุง
ผู้ป่วยอ้วนลงพุงมีไขมันสะสมที่หน้าท้องปริมาณมาก หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือควบคุมน้ำหนักอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคเบาหวานได้ และหากมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิตสูง อาจทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอ้วนลงพุงยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคไต หรือโรคไขมันพอกตับ เป็นต้น