ไขมันหลอดเลือด และ คอเลสเตอรอลสูง ภัยที่มาโดยไม่รู้ตัว
โรคไขมันในหลอดเลือดอาจเป็นเพราะร่างกายของเรานั้นมีไขมันสะสมมากจนเกินไป ซึ่งอาจเกิดพฤติกรรการกินหรือการใช้ชีวิตในแต่ละวันทำให้ร่างกายเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจนำไปสู่ภาวะคอเลสเตอรอลสูงหรือไตรกลีเซอไรด์ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไขมัน อุด ตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่ายกายได้ไม่เต็มที่อีกด้วย
มาทำความรู้จักชนิดของไขมันในเลือดว่ามีอะไรบ้าง
ไขมันในร่างกายคือสิ่งที่ทุกคนหลีกหนีไม่ได้ ซึ่งชนิดของไขมันที่มีในเลือดมีอยู่ 2 ชนิด อันได้แก่ “คลอเรสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นไขมันที่พบอยู่เป็นปกติในร่างกาย ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างไรกันใน “โรคไขมันในเลือดสูง” ไปดูกันค่ะ
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้น โดยการสังเคราะห์จากตับและลำไส้ ซึ่งเรามักจะพบในไขมันสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์อื่น ๆ ของระบบในร่างกาย ขณะเดียวกันหากร่างกายมีไขมันหรือคอเลสเตอรอลมากจนเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งคอเลสเตอรอลที่สำคัญต่อระบบร่างกายนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิด
- HDL คอเลสเตอรอล (hdl cholesterol) คือ ไขมัน ชนิดดี หน้าที่ของไขมัน คือขนย้ายไขมันในร่างกายไปทำลายที่ตับ ซึ่งช่วยให้ของเสียที่เกิดจากไขมันในร่างกายลดลง ยิ่งในร่างกายมี HDL คอเลสเทอรอล มากเท่าไหร่ สุขภาพก็จะยิ่งดีตามลำดับ
- LDL คอเลสเตอรอล (Ldl cholesterol) คือ ไขมันตัวร้าย เจ้า ldl สูงเป็นตัวการที่ทำหน้าที่ลำเลียงเอาคอเลสเตอรอลหรือไขมันส่งไปยังหลอดเลือด หรือ เนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีจำนวนมากในร่างกายก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นในส่วนนั้นๆเช่นถ้ามีที่หลอดเลือดเยอะก็จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว หรือ ตีบตัน ซึ่ส่งผลตัวการเกิดโรคหัวใจและโรคอื่นๆตามมามากมาย ซึ่ง ควรมี LDL คือ ค่าปกติที่เหมาะสม เท่ากับ 100-129 มก./ดล. ดังนั้น อัตราส่วน HDL ต่อ LDL ควรให้ความสำคัญกับ HDL มากกว่าค่ะ
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากอะไร อาจเป็นคำศัพท์ที่เข้าใจยากในคนทั่วไป แต่ถ้าบอกว่าเป็นไขมันชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือเกิดจากอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องได้นาน ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้นหลายเท่า
ระดับไตรกลีเซอไรด์ในผู้ใหญ่ปกติไม่ควรเกินเท่าใด
ในร่างกายของคนเราหากมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงปกติระดับของค่าไตรกลีเซอไรด์ควรต่ำกว่า 150 mg/dL ซึ่งสามารถตรวจได้จากเลือด โดยปกติก่อนทำการตรวจเลือดแพทย์จะแนะนำให้งดอาหารประมาณ 12 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ตรวที่สุด ซึ่งไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกายระดับปกติ ไม่ควรมากเกินกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรค่ะ
สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดสูง DLP โรคที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
โรค DLP ย่อมาจาก Dyslipidemia เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยปัจจัยภายใน นั่นคือเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในเรื่องการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
“ ภัยเงียบที่อันตรายมากของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ” คอเลสเตอรอล cholesterol ในเลือดสูง เกิดจากไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อันตรายของอาการไขมันในเส้นเลือดสูง dyslipidemia symptoms ที่สังเกตได้ ได้แก่
- อาการปวดท้อง สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะพบเจอรุนแรงถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้
- อาจจะมีอาการผื่น หรือปื้นเหลืองๆ ขึ้นที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้นั้นจะมีลักษณะเป็นสีแดง
- การทำงานของระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการทรงตัวไม่อยู่ เดินโซเซ และปวดตามข้อ แขน ขา เหยียดได้ไม่ถนัด กล้ามเนื้อจะมีอาการแข็งเกร็ง
- อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวมีผลทำให้เลือดที่ไหลเวียนในร่างกายไปเลี้ยงสมองไม่พออาจจะทำให้เป็นอัมพาตได้
- ซึ่งการใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ
วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม
การดูแลสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลจากโรคไขมันในเลือดสูง หรือ DLP (Dyslipidemia) ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง
- พยายามหลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่มที่มี คลอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์ หันมาใช้วิธีการประกอบอาหารแบบ นึ่ง ต้ม อบ อาหาร แทนการทอด หรือผัด
- ควรหันไปบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช เพราะกากใยเหล่านี้จะช่วยให้ดูดซึมไขมันลดน้อยลง และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว
- ผู้ที่มีน้ำหนักเยอะ เกินกว่ามาตรฐานกำหนด ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40 นาทีขึ้นไป
- ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ นม เนย ไข่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ส่วนที่ติดมันทุกชนิด หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น
- เราควรเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง คือ ออกกำลังกายครั้งละประมาณ 30-40 นาที และอย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
- งดการสูบบุหรี่ นอกจากจะช่วยรักษาภาวะไขมันผิดปกติในเลือกได้แล้ว ยังจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย
- การที่เราลดน้ำหนักตัวหรือควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินเกณฑ์มาตรฐานปกติ
- ถ้าเรามีโรคประจำตัวที่เสี่ยงก่อให้เกิดระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคทางที่มาจากพันธุกรรมบางอย่าง โรคของต่อมไร้ท่อบางอย่าง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาและปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
หลายๆ คนคงอยากทราบเกี่ยวกับวิธีการป้องกัน “ การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงที่ดี “ นั่นคือการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำคอย เช็ค ไขมัน ใน ร่างกายในทุก ๆ ปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ค่ะ
อาหารในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงควรรู้
การควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงนั้น เป็นข้อสำคัญอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และควรรับประทานมีดังนี้ต่อไปนี้ค่ะ
1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
- น้ำมันจำพวกที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
- อาหารจำพวกที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หนังสัตว์และส่วนติดไขมันสัตว์ เช่น หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ เป็นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น นมและผลิตภัณฑ์จากนมแบบชนิดไขมันเต็มส่วน
- อาหารจำพวกที่มีคอเลสเตอรอลในประมาณที่สูงมากๆ อาทิเช่น ไข่แดง ไข่ปลา สมองของสัตว์ อวัยวัยยะภายในตับ ไต ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด เครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย
- อาหารประเภทไขมันทรานส์ ได้แก่ จำพวกเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ในปริมาณมากเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เค้ก คุกกี้ พาย ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ
- ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันจากมะพร้าว เช่น กะทิข้น ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันเยอะๆ เช่นเมนูแกงกะทิ แกงเผ็ด แกงแพนง แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ เป็นต้น
- ควรงดอาหารที่มีรสชาติหวานหรือมีน้ำตาลสูงกว่ามาตรฐานกำหนด เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
- เราควรเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มสุรา แอลกอฮอล์ทุกชนิด ในชีวิตประจำวัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากขึ้น
2. อาหารที่เราควรรับประทาน
- อาหารประเภทเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาแซลมอน เนื่องจากอาหารจำพวกปลามีโอเมก้า 3 ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย และจะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) โดยรับประทานอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
- รับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
- เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง
- เลือกบริโภคอาหารประเภทผัก ผลไม้บางชนิด ที่ให้กากและใยอาหารสูง เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น และช่วยในการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
- ใช้น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย แทนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
- วิธีปรุงอาหารเลือกใช้การนึ่ง ย่าง อบ ยำ แทนการทอด
โรคไขมันหลอดเลือด ภาวะที่ทุกคนไม่อยากเจอ
ภาวะไขมันในเลือดสูง มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และจากโรคหรือการใช้ยาบางชนิด ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงจะทราบได้ก็ต่อเมื่อทำการตรวจโดยวิธีการเจาะเลือด โดยค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด มีดังนี้
ไขมันในหลอดเลือดสูงป้องกันได้ด้วยตัวคุณเอง
การป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค
อาการและการแสดงอาการของโรคไขมันในหลอดเลือดสูง
โดยทั่วไปอาการไขมันในเลือดสูงจะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็น เราจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อได้เข้ารับการตรวจสุขภาพ หรือเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับไขมันแต่ละชนิด แต่หากมีระดับไขมันในเลือดสูงแล้วไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคบางอย่างตามมาได้ อย่างเช่น เป็นตับอ่อนอักเสบ ส่งผลให้ปวดท้อง เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก อาจเกิดปื้นหนาสีเหลืองบริเวณผิวหนังที่หนังตา ฝ่ามือ ซึ่งเกิดจากการสะสมของ
คอเลสเตอรอลที่ผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง และสะสมมาเป็นเวลานานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อเกิดการอุดตันจะมีอาการแสดงของการขาดเลือดจากอวัยวะนั้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดส่วนปลายที่ขาอุดตัน
เทคนิคกินอาหารลดไขมัน
- งดเว้นอาหารจำพวกของทอด ของที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ เช่น เฟรนฟรายด์ หมูทอด หรือของปิ้งย่าง หรือขนมหวานที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
- เมื่อจำเป็นต้องรับประทานของทอด หรือ ทำอาหารจำพวกทอด ควรใช้น้ำมันจำนวนน้อย หลีกเลี่ยงน้ำมันท่วม และควรกินแต่พอดีไม่กินเยอะ หรือกินวันละ 1 เมนู
คอเลสเตอรอล คือ สภาวะที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดโดยฉับพลัน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆขึ้นได้มากมาย อาทิเช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ หรือ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งแน่นอนว่าโรคดังกล่าว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่ควบคุมและดูแลสุขภาพรวมถึงปรับวิธีการดำเนินชีวิตใหม่ หรือการรับประทานยาควบคุมอย่างต่อเนื่อง
คอเลสเตอรอล คืออะไร
Cholesterol แปลว่า คอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นคำที่ความหมายตรงตัวไม่ซับซ้อน คือ สารประกอบไขมันที่ร่างกายเราสามารถสร้างขึ้นมาเองและมีความสำคัญมาก สุขภาพที่ดีนั้นก็ต้องอาศัย คลอเรสเตอรอลบางอย่างซึ่งอาจฟังแล้วดูน่าแปลกใจ แต่นั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะคอเลสเตอรอลนั้นเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนในร่างกายบางอย่าง ร่วมถึงยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในคนทุกเพศ
ปัจจัยใดเป็นสาเหตุของการเกิด Cholesterol ?
คอเลสเตอรอลมีสาเหตุของอาการเจ็บป่วยมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าอาการเจ็บป่วยนั้น เกิดขึ้นได้หลายปัจจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่หรือการขาดการออกกำลังกาย ภาวะโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ แม้แต่พันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อคอเลสตอรอลในร่างกายได้เช่นกัน
จากข้างต้นว่าโดยมากมาจากการกินหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งถือว่เป็น “ภัยเงียบ” ที่หลายๆไม่ทันตั้งตัว รู้อีกทีก็มีอาการแสดงออกชัดเจนจนบางรายก็รักษาไม่ทัน หรือบางรายก็เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นมาเช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดต่างๆ
ดังนั้น เนื่องจากอาการของโรคคอเลสเตอรอลที่ไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจน การดูแลสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพประจำเป็นอย่างสม่ำเสมอ การตรวจคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากตรวจแล้วพบว่าพบปัญหาคอเลสเตอรอลไม่อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาและป้องกันทันที
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วค่าคอเลสเตอรอลมาตรฐาน ควรต่ำกว่า 200 มก./ดล.
พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคคอเลสเตอรอล
- นิสัยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ปิ้งย่างต่างๆ
- โรคอ้วนหรือการมีไขมันส่วนเกินในร่างกายจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับ HDL คอเลสเตอรอลในร่างกายต่ำลง
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวการทำลายตับ ซึ่งตับเป็นตัวที่ช่วยกำจัดไขมันในร่างกาย เมื่อตับถูกทำลาย ไขมันส่วนเกินย่อมเพิ่มสูงขึ้น
- การขาดการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ส่งผลให้ LDL คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงขึ้นทางอ้อม
- การสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีตัวการที่ไปขัดขวางการทำงานของ HDL คอเลสเตอรอล หรือไขมันดี ซึ่งส่งผลให้การลำเลียงไขมันไม่ดีในร่างกายไปยังตับหยุดชะงักลง ไขมันส่วนเกินเหล่านั้นจึงไปเกาะที่ผนังเลือด สะสมในจุดอื่นๆตามร่างกาย ซึ่งในที่สุดก็เกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
เมื่อเราเป็นโรคคอเลสเตอรอลแล้ว เราจะมีวิธีรักษาอย่างไร
ในปัจจุบันมีการวินิจฉัยโรคคอเลสเตอรอลด้วยวิธีตรวจเลือดเท่านั้น ซึ่งจะสามารถแสดงให้เห็นทั้งไขมันที่ดีและไม่ดีในร่างกาย โดยทั่วไปแล้วผู้ที่จำเป็นต้องตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่
- ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจมาจากพันธุกรรม หรือมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากยิ่งมีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคย่อมสูงขึ้น
- เพศชายมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคคอเลสเตอรอลสูงกว่าเพศหญิง
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับโรคไขมันในเลือดสูง หรือ โรคคอเลสเตอรอลสูง
พฤติกรรมอะไรทำให้เกิดโรคคอเลสเตอรอล
โดยมากโรคคอ เร ส เต อ รอ ลเกิดจากการบริโภคเป็นหลัก เช่น การที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด น้ำมันจากสัตว์ กะทิ เป็นต้น แต่ทั้งนี้คอเลสเตอรอลก็ยังสามารถมาจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน
โรคคอเลสเตอรอลอาการเป็นอย่างไร
อาการโดยทั่วไปของผู้ที่ป่วยเป็นโรคคอเลสเตอรอล เริ่มแรกมักจะไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ แต่เมื่อไขมันตัวร้ายถูกสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมากขึ้น ร่างกายจะเริ่มตอบสนองถึงผลกระทบต่างๆเช่น ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นที่บริเวณหน้าอก เหนื่อย เพลียง่าย หรืออาจมีโรคอื่นๆเช่นโรคหลอดเลือดแทรกออกมา โดยผู้ป่วยจะทราบก็ต่อเมื่อพบแพทย์และตรวจวิเคราะห์จากการเจาะเลือด
โรคคอเลสเตอรอลรักษาหายด้วย Coffogenic Drink ได้หรือไม่
โดยปกติแล้วโรคคอเลสเตอรอลจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดื่ม Coffogenic Drink จะช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลงหรือช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ เนื่องจาการในเครื่องดื่ม Coffogenic จะเป็นตัวช่วยเรื่องยับยั้ง หรือ ลดระดับไขมันในร่างกายลงได้ จึงทำให้ผู้ที่ป่วยมีอาการดีขึ้น ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้เป็นผู้ป่วยก็จะสุขภาพแข็งแรงขึ้น
ทำไมต้อง Coffogenic Drink ถึงช่วยลดคอเลสเตอรอลและแตกต่างกับสารสกัดทั่วไปอย่างไร
เพราะใน Coffogenic Drink เครื่องดื่มที่สกัดจากเนื้อผลกาแฟ มีสารคลอโรจีนิก ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของไขมันในร่างกาย ซึ่ง Coffogenic Drink นั้นได้รับการวิจัยและพัฒนาจากทีมแพทย์และนักวิจัยคนไทยเป็นเวลายาวนานกว่า 9 ปี ซึ่งได้ผลลัพท์ที่เห็นผลชัดเจนในเรื่องการยับยั้งไขมันในร่างกาย ครั้งแรกของโรค
ต้องดื่ม Coffogenic Drink เยอะแค่ไหนถึงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคคอเลสเตอรอล
แพทย์แนะนำให้ดื่มวันละ 1-2 ขวด หลังอาหารเช้า และ เที่ยง ติดต่อกัน 1 – 2 เดือน หรือควรดื่มเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต่อเนื่อง
Coffogenic Drink ช่วยลดการเกิดโรคคอเลสเตอรอลได้หรือไม่
สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อย่างเห็นผล เนื่องจาก Coffoenic มีสารที่ช่วยในเรื่องยับยั้งการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย เมื่อไขมันไม่ดีในร่างกายถูกยับยั้ง โอกาสการเกิดโรคคอเลสเตอรอลก็จะลดลงสามารถ
ช่วงอายุไหนเสี่ยงต่อโรคคอเลสเตอรอล
ตามสถิติพบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในร่างกายสูง แต่อาจจะยังไม่แสดงอาการเนื่องจากปริมาณการสะสมในร่างกายยังไม่สูง แต่เมื่ออายุประมาณ 30 ปี อาการต่างๆ ค่าไขมันในร่างกายที่น่าเป็นห่วงจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าหากมองโดยภาพรวมแล้วก็คือ คนทุกช่วงอายุมีโอกาสที่จะเป็นโรคคอเลสเตอรอลได้ทั้งหมด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคลควบคู่ไปด้วย ดังนั้นการป้องกันแต่เนิ่นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรปฏิบัติ
Coffogenic Drink เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดหรือไม่
ไม่เป็นอันตราย เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ และผ่านการวิจัยทางคลีนิค
ไขมันในเลือดรักษาหายด้วย Coffogenic Drink ได้หรือไม่
Coffogenic ไม่ได้เป็นยาที่รักษาทางการแพทย์โดยตรง แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้
Coffogenic Drink ช่วยในการรักษาโรคไขมันในเลือดอย่างไร
Coffogenic ไม่ได้เป็นยาที่รักษาทางการแพทย์โดยตรง แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้
ต้องดื่ม Coffogenic Drink เยอะแค่ไหนถึงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไขมันในเลือด
แนะนำทานเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผลเลือด
Coffogenic Drink ช่วยลดไขมันในเลือดอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนในการลดไขมันในเลือด
Coffogenic Drink มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้
ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดปกติจำเป็นต้องรับประทาน Coffogenic Drink หรือไม่เพราะอะไร
ไม่จำเป็นต้องรับประทาน แต่หากอยากลดการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
ต้องรับประทาน Coffogenic Drink กี่กล่องขึ้นไปถึงจะเห็นผล
แนะนำให้ทาน 360 ขวด (เวลา 6 เดือน)
มีโรคประจำตัวอะไรบ้างที่ไม่สามารถทาน Coffogenic Drink ได้
เด็ก สตรีมีครรภ์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่แนะนำให้ทาน