You are currently viewing การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไรบ้าง

การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะ อ้วนลงพุง ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของรูปร่างที่เสียไปเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีไขมันที่สะสมอยู่มากเกินไป ซึ่ง โรคอ้วนลงพุง ผลกระทบ จึงเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เพราะฉะนั้นไม่ควรปล่อยให้ตัวเลขของน้ำหนักพุ่งเกินเกณฑ์ และควรควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคอ้วน และภาวะอ้วนลงพุง

ดังนั้นเป้าหมายของบทความในวันนี้ Hillkoff จะพาทุกคนมาดู โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกัน

โรคอ้วนลงพุง อาการ เกิดจากอะไร และใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้

โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน

โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง และมีรอบเอวขนาดใหญ่ ทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดสูง จนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่าง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น

โดยสาเหตุของภาวะอ้วนลงพุง เกิดจากไขมันที่สะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันในช่องท้องที่อาจเป็นอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะอ้วนลงพุง แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • รับประทานอาหารประเภทไขมันมากเกินไป

เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล ในท้ายที่สุดก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นไขมันในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด จึงเกิดการสะสมของไขมัน และแทรกซึมอยู่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ 

  • ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยขยับตัว

ปกติแล้วการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการขยับ หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยตามไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารไขมันสูง ก็เสี่ยงเป็นภาวะอ้วนลงพุงได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ อย่าง

  • ผู้สูงอายุ
  • ชาวเอเชีย หรือผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกาแคริเบียน
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นภาวะอ้วนลงพุง หรือเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • ผู้ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

รู้ไว้ได้เปรียบ ! โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน ทำได้อย่างไรบ้าง

โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน
  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอ้วนลงพุงในระยะยาว สิ่งสำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความตั้งใจในการลดไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดการกินคาร์โบไฮเดรต ลดการบริโภคน้ำตาล และลดการทานแป้งแปรรูป นอกจากนี้ ยังต้องหันมาออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้ว่าจะลดไขมันได้ในช่วงแรก แต่สุดท้ายก็จะกลับไปสู่ภาวะอ้วนลงพุงได้อีกเช่นกัน

  1. ลดความเครียด

โรคอ้วนลงพุง การรักษา ด้วยการลดความเครียด เพราะความเครียด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันสะสม และเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ง่ายโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อร่างกายเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน “คอร์ติซอล” ออกมา โดยฮอร์โมนตัวนี้หากมีการหลั่งออกมามากเกินไป จะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาล และอินซูลินในเลือด ทำให้อยากอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่กำลังลดไขมัน หรือลดความอ้วน ทั้งยังทำให้เสียวินัยในการควบคุมอาหารไปได้ง่าย ๆ 

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบเผาผลาญ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ และเกิดการต้านอินซูลิน ทำให้การเผาผลาญกลูโคสลดลง ส่งผลให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น เพื่อเอาพลังงานมาใช้ อีกทั้งยังเกิดไขมันสะสมได้ง่าย และลดไขมันได้ยาก 

  1. ไม่สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อ้วนง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบียร์ที่มีแคลอรีสูง จะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตันได้เร็วขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย เพราะฉะนั้น สำหรับใครที่ต้องการลดไขมันบริเวณพุง การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างมาก

สายกินต้องอ่าน ! เคล็ดลับทานอาหารอย่างไรให้ห่างไกล ภาวะอ้วนลงพุง

โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน
  1. ห้ามอดมื้อเช้าเด็ดขาด

มื้อเช้า เป็นมื้ออาหารสำคัญที่สุด เพราะช่วยเติมเต็มพลังงานให้ทั้งร่างกาย และสมอง โดยใน 1 จาน ควรทานอาหารให้ถูกสูตร คือ ผักผลไม้ 2 : โปรตีน 1 : คาร์โบไฮเดรต 1 ซึ่งการรับประทานผัก และผลไม้ จะช่วยให้อิ่มเร็ว นอกจากนี้ กากใยอาหารยังช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย

  1. โค้ดไม่ลับ 2:1:1 ไม่อยากอ้วนลงพุงต้องจำให้ได้

ทำอาหารสุขภาพ ด้วยการแบ่งจานอาหารให้ได้สัดส่วนที่พอดี และเหมาะสม จะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดไขมันส่วนเกินเพิ่มเข้าไปในร่างกาย แนะนำให้แบ่งอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยแยกเป็นผัก 2 ส่วน ข้าว หรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน

นอกจากนี้ หลังจากทานอาหารสามารถเลือกทานผลไม้เพิ่มได้อีกเล็กน้อย โดยควรเลือกเป็นผลไม้หวานน้อย อาทิ ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร และแอปเปิล ในปริมาณไม่เกินหนึ่งกำมือ หรือหากหิวขึ้นมาสามารถดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมถั่วเหลืองหวานน้อย จะช่วยให้อยู่ท้องได้

  1. ลดอาหารประเภทไขมัน ผัด และทอด

แนะนำให้หลีกเลี่ยง หรือลดการทานอาหารจำพวกไขมัน ผัด และทอด ให้หันมาทานอาหารประเภท ต้ม ยำ ลวก ตุ๋น อบ และนึ่ง แทน

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำให้พอดีต่อความต้องการของร่างกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย และถ้าดื่มก่อนมื้ออาหาร 1 ชั่วโมง จะช่วยลดความอยากอาหารได้อีกด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคอ้วนลงพุง การป้องกัน ที่เราได้นำมาฝากทุกคนในวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้นการป้องกันเบื้องต้น คือ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และดูแลสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจอยู่เสมอ จะช่วยให้ห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุงได้