โรคไขมันในหลอดเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมนุษย์เรานั้นมีไขมันในเลือดผิดปกติ ไขมันที่สะสมจำนวนมากและเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดไขมันสูง หรือเรียกกันว่า คอเลสเตอรอล(Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่า Hyperlipidemia เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ สามารถก่อให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้
ชนิดของไขมันที่มีในเลือดมีอยู่ 2 ชนิด อันได้แก่ “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นไขมันที่พบอยู่เป็นปกติในร่างกาย ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างไรกันใน “โรคไขมันในเลือดสูง” ไปดูกันค่ะ
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้น โดยการสังเคราะห์จากตับและลำไส้ ซึ่งเรามักจะพบในไขมันสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์อื่นๆ ของระบบในร่างกาย ขณะเดียวกันหากร่างกายมีไขมันหรือ คอเลสเตอรอล มากจนเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งคอเลสเตอรอลที่สำคัญต่อระบบร่างกายนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิด
- เอชดีแอล (Hight density lipoprotein – HDL) มีหน้าที่นำคอเลสเตอรอล และกรดไขมันจากส่วนอื่นๆ ของระบบร่างกาย ไปช่วยในการป้องกันไม่ให้มีไขมันเลวเข้าไปสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง
- แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมัน คอเลสเตอรอล ไปใช้ยังส่วนต่างๆ ของระบบร่างกาย หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงมากเกินไป จะทำให้ไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดจะตีบแคบลง หลอดเลือดเปราะ ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก จึงอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตัน
2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นไขมันชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือเกิดจากอาหารชนิดอื่นๆ ที่ช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องได้นาน ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้นหลายเท่า ซึ่งไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกายระดับปกติ ไม่ควรมากเกินกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรค่ะ
สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกาย เผาผลาญทำลายไขมันลดลง
- การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ
– การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน อาหารทอด
– รับประทานอาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก
– รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน
- การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
ปัจจัยเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
- ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือ
- ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
- การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย ไข่ เป็นต้น
- มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
“ ภัยเงียบที่อันตรายมากของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ” คอเลสเตอรอล ในเลือดสูง เกิดจากเส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ได้แก่
- อาการปวดท้อง สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะพบเจอรุนแรงถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้
- อาจจะมีอาการผื่น หรือปื้นเหลืองๆ ขึ้นที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้นั้นจะมีลักษณะเป็นสีแดง
- การทำงานของระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการทรงตัวไม่อยู่ เดินโซเซ และปวดตามข้อ แขน ขา เหยียดได้ไม่ถนัด กล้ามเนื้อจะมีอาการแข็งเกร็ง
- อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวมีผลทำให้เลือดที่ไหลเวียนในร่างกายไปเลี้ยงสมองไม่พออาจจะทำให้เป็นอัมพาตได้
วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม
- พยายามหลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์
- ควรหันไปรับบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว
- ผู้ที่มีน้ำหนักเยอะ เกินกว่ามาตรฐานกำหนด ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40 นาทีขึ้นไป
หลายๆ คนคงอยากทราบเกี่ยวกับวิธีการป้องกัน “ การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงที่ดี “ นั่นคือการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุกๆ ปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ค่ะ
การเลือกอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมระดับไขมันในหลอดเลือด อาหารที่ช่วยลดระดับไขมันในร่างกาย รวมถึงผักและผลไม้ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือด การรักษาที่ง่ายที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีฤทธิ์ช่วยในการลดระดับไขมันส่วนเกินในร่างกาย อย่าง Coffogenic Drink ตัวเลือก ที่เป็นทางรอดของผู้ที่ต้องการหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และต้องการควบคุมเรื่องของไขมัน Coffogenic Drink จะช่วยควบคุมไขมันในร่างกาย หากผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับไขมันอยู่แล้ว การดื่ม Coffogenic Drink เป็นประจำจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น รวมไปถึงการกินยาลดไขมันในเลือด ก็เป็นตัวช่วยที่ดี