COFFOGENIC  DRINK

ในระบบการแปรรูป สินค้าเกษตรย่อมก่อให้เกิดของเหลือทิ้ง ชีวภาพ (biomass) จำนวนมาก อุตสาหกรรมกาแฟ ก็เช่นเดียวกันในการแปรรูปผลเชอรี่สดกาแฟ ก่อให้เกิดของเหลือทิ้งที่นำไปสู่ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดจน หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องก็จะทำให้เกิด มลพิษทางน้ำ อากาศ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุ ของดินกรด เนื้อผลเชอรี่คือสิ่งที่อาจนำไปสู่ปัญหามลพิษหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง

 

บริษัท ฮิลล์คอฟฟ์ ซึ่งเป็นผู้ซื้อกาแฟจากต้นน้ำและทำการแปรรูปตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จึงทำการศึกษาและ วิจัยต่อเนื่องกว่า 9 ปี ในการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ไม่ใช้ในอุตสาหกรรมกาแฟและทำการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในทุกๆด้าน และสิ่งสำคัญที่สุดที่เราให้ความสำคัญคือ การเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของธรรมชาติและนำมาใช้เป็นคุณแก่มนุษยชาติ และพวกเราได้ กลับไปดูแล ปกป้อง รักษา ธรรมชาติป่าไม้ ไม่ให้ถูกทำลาย

การค้นพบอย่างเหลือเชื่อ ที่เราเจอใน เนื้อผลเชอรี่ของกาแฟทำให้เราต้อง ตัดสินใจลงทุนงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้น ยังทำให้มุมมองต่อการดูแลกาแฟจากต้นน้ำของเราเปลี่ยนแปลงไปเมื่อสิ่งที่เรียกว่าขยะ (waste) กลายเป็นทรัพยากร (resource) ที่สำคัญและอาจจะมีมูลค่า คุณค่า

ที่มากกว่าสินค้าหลัก


เราตัดสินใจที่จะนำเอากาแฟ เข้าสู่ตลาดอาหารและสุขภาพ (Health and wellness) แล้วเช่นเดียวกับการตัดสินใจที่จะกระโดดออกจากถ้วยกาแฟ  เพื่อสร้างขยายอุตสาหกรรมใหม่ให้กับทรัพยากรกาแฟรองรับความผันผวนของธุรกิจและการแข่งขัน จากการเปิดเสรีทางการค้า


ฮิลล์คอฟฟ์ ตั้งใจว่า จะเป็นบริษัทที่ซื้อกาแฟไทยจากเกษตรกร ด้วยราคาที่ยุติธรรม และสามารถสนับสนุนเกษตรกร ผู้ปลูกกาแฟไทยในระบบวนเกษตรได้อย่าง ยั่งยืนยาวนาน

งานวิจัย ต่อจากนี้เป็น ฉบับที่ทีมวิจัยได้ เผยแพร่ตีพิมพ์ สู่สาธารณะ ที่บริษัทศึกษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกตลอดจนนักวิจัยได้ร่วมมือกันทำงานอย่างต่อเนื่องและยินดีที่จะเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชนในการพัฒนาวงการกาแฟต่อไป 


Coffoginic Drink

งานวิจัย Coffogenic

1.ชื่องานวิจัยภาษาไทย : กลยุทธ์และแผนการตลาดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดเนื้อผลกาแฟเพื่อลดและดักจับไขมัน (พ.ศ. 2558)

ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ : Strategy and marketing plan for developing coffee pulp extract as lipid-lowering supplement

หน่วยงานสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

 

2.ชื่องานวิจัยภาษาไทย : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเนื้อผลกาแฟต่อการขนส่งสารอินทรีย์ในท่อไตของหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2

ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ : ANTIOXIDATIVE EFFECT OF COFFEE PULP EXTRACT ON RENALORGANIC ION TRANSPORT IN EXPERIMENTAL DIABETIC RATS

หน่วยงานสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

 

3.ชื่องานวิจัยภาษาไทย : ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดเนื้อผลกาแฟต่อสมดุลคอเลสเตอรอลและกลไกที่เกี่ยวข้องในเซลล์ลำไส้เพาะเลี้ยงของมนุษย์คาโก้ทูและหนูอ้วน (พ.ศ. 2558)

ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ : EFFECTS OF COFFEE PULP AQUEOUS EXTRACT ON

CHOLESTEROL HOMEOSTASIS AND ITS MECHANISMS IN HUMAN CELL LINES AND OBESE RATS

หน่วยงานสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

 

4.ชื่องานวิจัยภาษาไทย : ฤทธิ์ของสารสกัดเนื้อผลกาแฟต่อการต้านการอักเสบในแมคโครฟาจและการดื้อต่ออินซูลินในเซลล์ไขมัน (พ.ศ. 2558)

ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ : Effects of Coffee Pulp Extract on Anti-inflammation in Macrophage and Anti-insulin Resistance in Adipocyte

หน่วยงานสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

 

5.ชื่องานวิจัยภาษาไทย : ผลของเครื่องดื่มเสริมอาหารสารสกัดเนื้อผลกาแฟต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือดและภาวะไขมันพอกตับในคนอ้วนที่มีไขมันในเลือดสูง

ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ : Effect of ready-to-drink supplement product derived from Coffeaarabica 

pulp extract on lipid profiles and hepatic steatosis in hyperlipidemia-obese humans

หน่วยงานสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Thailand Science Research and Innovation (TSRI)



- การเดินทางของงานวิจัย COFFOGENIC DRINK -

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2016

Comparison of antioxidant, antimicrobial activities and chemical profles of three coffee (Coffea arabica L.) pulp aqueous extracts

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2018

Potential of Coffee Fruit Extract and Quinic Acid on Adipogenesis and Lipolysis in 3T3-L1 Adipocytes

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2019

Hepatoprotective effect of coffee pulp aqueous extract combined with simvastatin against hepatic steatosis in high-fat diet-induced obese rats

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2019

Lipid-lowering effects of Coffea arabica pulp aqueous extract in Caco-2 cells and hypercholesterolemic rats

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2020

Phenolic acids from Coffea arabica L. suppress intestinal uptake of glucose and cholesterol.

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2021

Antidiabetic and Renoprotective Effects of Coffea arabica Pulp Aqueous Extract through Preserving Organic Cation Transport System Mediated Oxidative Stress Pathway in Experimental Type 2 Diabetic Rats

งานวิจัย ปี ค.ศ. 2023

Chlorogenic acid rich in coffee pulp extract suppresses inflammatory status by inhibiting the p38, MAPK, and NF-kB pathways

ที่ผ่านการรับรองจากศูนย์ประเมินความเสี่ยงแห่งประเทศไทย

การประเมินความปลอดภัยอาหารใหม่ (Novel food)

ที่ผ่านการรับรองจากศูนย์ประเมินความเสี่ยงแห่งประเทศไทย

แกลเลอรี