โรคหัวใจเกิดจากอะไร ถ้าพูดถึงอัตราการเสียชีวิตของคนไทยอันดับต้นๆก็คงหนีไม่พ้นอาการเจ็บป่วยของโรคหัวใจ เมื่อเป็นโรคหัวใจนั้น ย่อมมีการผิดปกติที่เกิดมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม หรือ แม้แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่มาจากความผิดปกติที่หัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , โรคกล้ามเนื้อหัวใจ หรือการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นเป็นความผิดปกติที่มาจากการสูบฉีดของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้เช่นกัน อาการต่างๆหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่เสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด 2563 สูงเป็นอันดับ 4 ของไทย ซึ่งก็มาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นเอง

ปัจจัย เสี่ยง ของ การ เกิด โรค หัวใจ

หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นได้อย่างไร

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบ มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยหนึ่งมาจากผนังหลอดเลือดเกิดความเสื่อม หรือ อีกกรณีที่พบบ่อยครั้งคือ การเกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงสารต่างๆ ที่ไปเกาะตามผลังหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้เกิดเป็นคราบไขมันหนาขึ้น เมื่อหลอดเลือดหัวใจถูกบดบังด้วยไขมันที่พอกหนา จึงทำให้หลอดเลือดหัวใจบริเวณดังกล่าวมีทางเดินของกระแสเลือดแคบลง และอาจทำให้หลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นลงในที่สุด ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉีบยพลันและหากรักษาไม่ทันก็ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจตีบที่ไม่ควรมองข้าม มีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

  • ภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักส่วนเกินมาก โรคอ้วนนั้นมักเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆโรคอย่างที่ทุกคนทราบกันดี และแน่นอนว่าคนอ้วนมักมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนผอมหรือคนที่มีน้ำหนักมาตรฐาน
  • ภาวะความเครียด การดำเนินชีวิตที่อยู่ในสภาวะที่ตึงเครียดตลอดเวลา  เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจขึ้นได้
  • การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ หรือ ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ  คนเราควรออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ปัจจัยจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้นอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติจะมีสูงกว่าคนที่มีอายุน้อย และมีความเสี่ยงในภาวะหัวใจล้มเหลวมากที่สุด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนเราเกิดโรคหัวใจสูงเช่นกัน เนื่องจากในแอลกอฮอล์มีสารที่ไปทำลายการทำงานของตับ ซึ่งตับมีหน้าที่ลำเลียงไขมันไม่ดีออกจากร่างกาย แต่เมื่อตับถูกทำร้าย ไขมันไม่ดีจึงไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ตามจุดต่างๆในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจ ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

หัวใจของคนมีเส้นเลือดที่สำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่เมื่อตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นก็ควรรีบแก้ไขก่อนที่กล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายและรักษายากยิ่งขึ้น การตรวจหัวใจด้วยตัวเองตามอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

  • อาการพื้นฐานที่มักพบบ่อยคืออาการเจ็มหน้าอก หายใจขัด หายใจไม่เต็มปอด หากมีอาการดังกล่าวสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคุณกำลังเสี่ยงโรคหัวใจ
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย เดินหรือทำกิจกรรมได้ไม่นานก็รู้สึกเหนื่อยหอบ มีความเสี่ยงต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจเช่นกัน
  • เหงื่อออกเริ่มจากตามมือ ตามเท้า หรือมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง เสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจตีบเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกเบียดบังด้วยตะกรันหรือคราบไขมันที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
  • บางรายที่มีอาการหนักก็อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ วูบหรือหัวใจหยุดเต้นระหว่างทำกิจกรรม และถึงขั้นเสียชีวิตได้

 อาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด , การเป็นโรคหัวใจ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

โรคหัวใจเกิดจากอะไร

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • เมื่อแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โดยทั่วไปจะวินิจฉัยด้วยวิธีสวนหัวใจและทำ CAG หรือการฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ซึ่งวิธีนี้จะกินระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 
  • การตรวจผู้ที่เป็นโรคหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือใช้ร่วมกับการเดินสายพาน
  • การเข้าเครื่อง X-Ray คอมพิวเตอร์
  • การอัลตร้าซาวด์ดูกล้ามเนื้อหัวใจ การเต้นของหัวใจ และดูภาพรวมที่อาจพบสิ่งผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจโดยรวม

CRP หรือ C Reactive Protein คืออะไร สำคัญกับโรคหัวใจอย่างไร

CRP คือโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย แต่ CRP ไม่สามารถระบุได้ว่าอาการอักเสบดังกล่าวมาจากสาเหตุใด เกิดเฉียบพลัน หรือเป็นการเกิดแบบเรื้อรัง

การตรวจเพื่อหาค่า CRP ในร่างกาย แพทย์จะใช้วิธีเจาะเลือดประมาณ 5 มล.โดยที่ตัวผู้ป่วยเองไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว หรือ งดอาหารใดๆ

การตรวจหาค่า CRP นั้น ค่าปกติของคนทั่วไปจะต้องอยู่ที่น้อยกว่า 1.0 mg/dl หรือ น้อยกว่า 10 mg/L ซึ่งหากผู้ป่วยตรวจพบว่าค่า CRP ในร่างกายสูง อาจก่อห้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ SLE เป็นต้น

การตรวจ hs-CRP การตรวจลักษณะนี้จะเป็นการตรวจที่ช่วยประเมินความเสี่ยงของภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง , ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน และ โรคความดันสูง รวมไปถึงผู้ที่ชอบสูบบุหรี่

ปรับพฤติกรรมลด สาเหตุ ของ การ เกิด โรค หัวใจ

แนวทางการป้องกันที่เราทำเองได้

อาการของโรคหัวใจมักแสดงออกมาได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งหลายคนใส่ใจสุขภาพ ก็มักจะแสวงหาวิธีป้องกันไม่ให้ตนเองตกอยู่ในกลุ่มผู้ป่วย หรือผูป่วยบางรายที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการก็เลือกที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต หรือ หาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานเพื่อป้องกัน หรือ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ แทนการกินยาหรือไปพบแพทย์

นอกจากนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยนช์ต่อร่างกาย เลี่ยงการกินอาหารจำพวกทอด ปิ้งย่าง เน้นกินอาหารที่มีกาก ใย เช่น ผัก ผลไม้ ก็เป็นตัวเสริมสร้างให้ร่างกายห่างไกลโรคที่เกิดจากไขมันหรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่นกัน

โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เป็นสิ่งที่หลายคนไม่อยากพบเจอ เพราะเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้คุณห่างไกลการเป็นโรคหัวใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหัวใจ

โรคหัวใจเกิดมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม หรือ แม้แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นโรคที่มาจากความผิดปกติของหัวใจ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นกลับมามีชีพจรดังเดิม

ปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และเชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ

อันดับแรกเราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

แนะนำผลิตภัณฑ์ Coffogenic ตัวนี้เลยค่ะ ที่ไม่ได้เป็นยาที่รักษาทางการแพทย์โดยตรง แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันที่ไปเกาะตามผลังหลอดเลือดหัวใจ ลดการเกิดภาวะโรคหัวใจได้ค่ะ

ผลิตภัณฑ์ Coffogenic มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ กรดคลอโรจีนิค ซึ่งสารนี้จะช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย และทำงานในระบบเมตาบอลิกซึม ช่วยลดไขมันที่ไปเกาะตามผลังหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

  • ช่วยลดไขมันหลอดเลือด
  • ลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ดักจับไขมัน
  • ลดการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย