คลอเรสเตอรอลสูง รักษายังไง ???
การรักษาจะต้องทำควบคู่กับการควบคุมอาหารที่ส่งผลให้เกิดโรคเหล่านี้ด้วยเพื่อให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น คอเลสเตอรอลสูงยังสามารถเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ได้ โดยจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia) ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงตั้งแต่กำเนิดที่จะนำไปสู่โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงแข็งและโรคหลอดเลือดหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไป
การวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูง
ในปัจจุบัน สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น โดยการตรวจจะถูกรวมอยู่ในการตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ซึ่งจะแสดงให้เห็นระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี คอเลสเตอรอลที่ดี และไตรกลีเซอไรด์ได้ในคราวเดียว โดยผู้ที่ควรได้รับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้แก่
- มีอายุมากกว่า 40 ปี
- มีน้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วน
- มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคเกี่ยวระบบหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร
- มีสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
- ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease: PAD)
- มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง (Underactive Thyroid) หรือตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่
- ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองภายในครอบครัว ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นภาวะนี้ จะทำให้เสี่ยงกว่าคนปกติ
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้น
- เพศ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงมักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ข้อมูลสนับสนุนจาก : เพจ podpad