คุมอาหารแบบไหน เมื่อไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง การกิน..คลิกอ่านต่อ
ไขมันในเลือดสูงเท่าไหร่ ถึงอันตราย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย..คลิกอ่านต่อ

ภาวะโรคไขมันในเลือดสูง อาจทำให้เกิดภาวะของโรคอื่นตามมา วิธีป้องกัน..คลิกอ่านต่อ

กินยังไง ลดไขมันในเลือด หากมีไขมันมากเกินไป อาจทำให้หลอดเลือดตีบ..คลิกอ่านต่อ

16 อาหารเฮลตี้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันในหลอดเลือด..คลิกอ่านต่อ

โรคไขมันหลอดเลือด

ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็น คอเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่า Hyperlipidemia เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ชนิดของไขมันในเลือดมีอยู่ 2 ชนิด  ได้แก่
“คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นไขมันที่พบอยู่เป็นปกติในร่างกาย ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับ “โรคไขมันในเลือดสูง

 

 

1.คอเลสเตอรอล  (Cholesterol)
เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ พบมากในไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยคอเลสเตอรอลที่สำคัญ มีอยู่ 2 ชนิด

  • เอชดีแอล (Hight density lipoprotein – HDL) มีหน้าที่นำคอเลสเตอรอล และกรดไขมันจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไปช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันเลวเข้าไปสะสมในหลอดเลือดแดง
  • แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมัน คอเลสเตอรอล ไปใช้ยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงเกินไป จะเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดจะตีบแคบลง หลอดเลือดเปราะ ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตัน

2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารอื่นๆ ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน  ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้น ไตรกลีเซอร์ไรด์ในระดับปกติ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง

  • ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกาย  เผาผลาญทำลายไขมันลดลง
  • การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น
  •  การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ

            –  การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน อาหารทอด

            – รับประทานอาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก

            – รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน

  • การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
ปัจจัยเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง
  • ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
  • การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย ไข่ เป็นต้น
  • มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง อันตรายของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เกิดจากเส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ได้แก่
  • ปวดท้อง บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้
  • ปื้นเหลืองที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้จะมีลักษณะสีแดง 
  • ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการดินโซเซ และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
  • ปวดข้อ แขน ขา ตึง เหยียดได้ไม่ถนัด
  • หลอดเลือดแดงแข็งมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดอัมพาตได้
วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์
  • เน้นการบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40 นาทีขึ้นไป
   

การป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงที่ดี คือการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆค่ะ

 

 

 

ข้อมูลสนับสนุนจาก : รพ.พญาไท

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “ไขมันหลอดเลือด”

A : ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้

A : ไม่เป็นอันตราย เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ และผ่านการวิจัยทางคลีนิค

A : Coffogenic ไม่ได้เป็นยาที่รักษาทางการแพทย์โดยตรง แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้

A : เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้ และช่วยลดความดันโลหิต ที่มีงานวิจัยในคลีนิครับรอง

A : แนะนำทานเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผลเลือด

A : Coffogenic Drink มีสารสำคัญกรดคลอโรจีนิก ที่สามารถลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือดได้

A : ไม่จำเป็นต้องรับประทาน แต่หากอยากลดการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

A : เด็ก สตรีมีครรภ์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่แนะนำให้ทาน