หลอดเลือด หัวใจ

เราจะรู้ได้ยังไงว่ากำลังเผชิญ กับ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรค CAD โรคหัวใจตีบ ซึ่งสาเหตุหลักของโรคหัวใจตีบเกิดจากคราบไขมันที่มีการเกาะสะสมมาเป็นเวลานาน และมีจำนวนมาก (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของ คอเลสเตอรอล และสารต่างๆ ภายในหลอดเลือด ซึ่งส่งผลให้ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดอาร์เทอรี ที่คอยส่งเลือดออกจากหัวใจไปในส่วนต่างๆของร่างกายอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะ SVD Heart หัวใจที่มีการตีบตันของหลอดเลือด บางรายรุนแรงกว่าถึงขั้นเป็น โรค DVD โรคที่เป็นภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น / TVD disease หรือเรียกย่อๆ คือ TVD โรคเส้นเลือดในหัวใจตีบสามเส้น หรือร้ายสุดก็ไปถึง SVD โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น

ผู้ป่วยจึงมักมีอาการเจ็บหน้าอก ระบบทางเดินหายใจติดขัด หรืออาจจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเกิดอาการ heart attack (หัวใจวายฉับพลัน) หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ค่ะ

หินปูนเกาะหัวใจ อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่หลายคนไม่คุ้นหู เป็นสภาวะที่เกิดแคลเซียมเกาะหัวใจ เกิดจากหลายสาเหตุซึ่งอาจแฝงมากับคราบไขมันที่อยู่ในร่างกายและมาเกาะติดตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดหมุนเวียนน้อยลง เกิดเป็นส่วนหนึ่ง Atherosclerosis อาการโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

อาการเส้นเลือดหัวใจตีบ อาการแทรกซ้อนของโรคมีอะไรบ้าง

ภาวะหลอดเลือดตีบตันคือสภาวะที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจได้ ยิ่งในขณะที่หัวใจเต้นเร็วจากการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นจุดที่ทำให้หัวใจเกิดการสูบฉีดเลือดมากที่สุด

อาการแบบไหนที่ส่อว่ากำลังจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • มีอาการเจ็บที่หน้าอก (Angina) อันเนื่องมาจากหัวใจต้องการเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงมากกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงที่ผู้ป่วยกำลังทำกิจกรรมที่ให้พลังงานหนัก รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะเครียดจัด ซึ่งจะส่งผลให้เจ็บหน้าอกบริเวณด้ายซ้ายลามไปถึงบริเวณช่วง คอ แขน ใบหน้า และ ช่องท้อง
  • เกิดอาการหายใจไม่สะดวก ติดขัด บางรายถึงกับหอบอย่างรุนแรง อาการต่างๆเหล่านี้เกิดจากเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอนั่นเอง
  • ภาวะหัวใจวาย ด้วยสภาวะต่างๆที่เกี่ยวเนื่องให้เกิดการสูบฉีดเลือดไปสู่หัวใจไม่เพียงพอ สิ่งต่างๆทำให้หัวใจของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ รวมไปถึงภาวะหลอดเลือดอุดตันซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจวายได้หากรักษาไม่ทันเวลา ซึ่งอาการของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นร่วมคือความดันตก หอบ และ มีเหงื่อออกก่อนเกิดภาวะหัวใจวาย
  • หัวใจล้มเหลว มักเกิดแบบเฉียบพลัน แต่ก็มีบางรายที่เกิดอาการแบบเรื้อรังซึ่งรักษาไม่หาย เกิดจากการที่หัวใจของผู้ป่วยเริ่มอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจไม่สะดวก ติดขัด นำไปสู่การเกิดภาวะของอาการน้ำท่วมปอด ซึ่งหากรุนแรงก็จะถึงขั้นเสียชีวิตได้

แต่โดยปกติปัญหาเส้นเลือดตีบ ไม่ได้ทำให้แต่ที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดได้ในทุกๆจัดของร่ายกาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในช่องท้อง , เส้นเลือดที่คอ เรียกว่า Carotid artery หรือ เส้นเลือดตีบที่ขา ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

เส้นเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจแพทย์ได้มีผลการวินิจฉัยได้ดังนี้

  • การตรวจเลือดเพื่อวัดระบบเอนไซม์ในหัวใจ หรือวิธีนี้เรียกว่า (Cardiac Enzyme Test) วิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ใช้สำหรับตรวจสอบความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การ X-Ray ที่ทรวงอกเป็นการหาจุดผิดปกติที่อยู่บริเวณหัวใจ ปอด และผนังของหน้าอก
  • การทำ CT Scan คือการฉายภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยโดยวิธีนี้แพทย์จะทำการฉีดสารทึบแสงเข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยในเรื่องการตรวจหาปริมาณของแคลเซียมที่ถูกสะสมในผนังหลอดเลือด
  • การทำ MRI หรือการสร้างภาพอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องสแกน MRI จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์แม่เหล็ก โดยผู้ป่วยต้องทำการนอนหงายเข้าไปภายในอุโมงค์ จากนั้นเครื่องจะทำการจับภาพอวัยวะต่างๆด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นวิธีที่แสดงความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจดูโครงสร้างของหัวใจ ตลอดจนดูการสูบฉีดของหลอดเลือดหัวใจ
  • การตรวจโรคด้วยคลื่นไฟฟ้า เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยผู้ป่วยจะถูกติดแผ่นอิเล็กโทรดบริเวณแขน ขา และ ทรวงอกเพื่อวัดระดับการเต้นของหัวใจ วิธีการนี้สามารถทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยนั้นเคยเกิดภาวะหัวใจวายหรือสามารถคาดการณ์ภาวะการเกิดโรคหัวใจวายให้แก่ผู้ป่วยได้
  • การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยานหรือขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test: EST) สามารถทำให้เรารู้ถึงสาเหตุการเจ็บหน้าอก ซึ่งมักจะเกิดมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เทคนิกการตรวจนั้นแพทย์จะใช้วิธีอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเต้นหัวใจทั้งก่อนและหลังการวิ่งทดสอบ หรือบางรายก็จะถูกกระตุ้นโดยใช้ยาควบคู่ไปกับการกระตุ้นด้วยคลื่อนความถี่
  • วิธีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ Angiography/Cardiac Catheterization) เป็นการฉีดสีเข้าไปยังหลอดเลือด เพื่อตรวจดูความผิดปกติภายใน โดยปกติจะฉีดเข้าบริเวณคอ ขาหนีบ หรือ แขน ไปยังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีความปลอดภัย และไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ก็มีประมาณ1%ที่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นเส้นเลือกสมองหรือจุดอื่นๆตีบตันอันเกิดจากคราบตะกรันที่หลุดออกไป การฉีดสีจะทำให้เห็นภาพของหลอดเลือดที่อุดตัน ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงความดันโลหิตภายในหัวใจและความสามารถในการสูบฉีดเลือด 
  • เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องดังกล่าวจะทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง (Holter Monitoring)  แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำการติดอุปกรณ์ดังกล่าวต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อบันทึกความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการเต้นของหัวใจ
  • อีกหนึ่งวิธีในการตรวจสอบประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดและดูการไหลเวียนของเลือดคือ การฉีดสารกัมมันตรังสีไอโซโทป Radioactive Isotope เข้าสู่กระแสเลือด

วิธีการรักษาและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

  • การงดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมความเครียด ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ให้ตนเองอยู่ในภาวะตึงเครียดตลอดเวลา
  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อย
  • ควบคุมระดับน้ำตาล ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
  • ควบคุมคอเลสเตอรอล แพทย์จะแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการลดคอเลสเตอรอล ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปตามอายุและข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละคน
  • ควบคุมโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดน้ำหนักส่วนเกิน ควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ 130/80mmHg
  •  และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ตามที่แพทย์ และไม่ควรหยุดรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ
อาการ เส้นเลือด หัวใจ ตีบ-cad โรค

ยาบางชนิดทำให้อาการแย่ลงได้ จริงหรือ?

ยาแต่ละชนิดล้วนมาทั้งคุณและโทษ ซึ่งหากใช้ไม่ถูก หรือ ไม่ใช้ตามที่แพทย์แนะนำ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ “ยารักษาโรคหลอดเลือด” เป็นยาที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายโดยตรง ผลข้างเตียงย่อมรวดเร็วกว่ายาชนิดอื่น ๆ จึงควรได้รับปริมาณยาที่มีแพทย์คอยดูแลและเป็นผู้แนะนำ ไม่ควรซื้อเอง แต่หากแพทย์แนะนำแล้วก็เป็นหน้าที่ของตัวผู้ป่วยเองที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ซึ่งหากว่ารับประทานยาไม่ต่อเนื่องจากคำแนะนำของแพทย์ ก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงได้เช่นกัน

  • กลุ่มยาที่มีคุณสมบัติต้านเกล็ดเลือด
  • กลุ่มยาคอเลสเตอรอล ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยเฉพาะในส่วนของไขมันร้ายหรือ LDL ซึ่งมักจับตัวสะสมในหลอดเลือดหัวใจ 
  • ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยการปิดกั้นฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายเช่นกัน
  • ยาขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ
  • ยาขยายหลอดเลือด ทำหน้าที่ลดความดันโลหิตและอาการปวดบริเวณหัวใจ แต่อาจทำให้ปวดหัวและมึนงงได้
  • ยาช่วยลดความดันโลหิตและยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม ใช้ในการลดความดันโลหิตโดยการสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดกว้างขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว

รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

เมื่อผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาได้ แพทย์จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับอาการของโรค ณ ขณะนั้น ซึ่งการผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้ 

  • การทำบอลลูนหัวใจ เป็นกระบวนการรักษาอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกหรือใช้ในการรักษาอาการฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนการรักษาด้วยการทำบอลลูน เพื่อประเมินความจำเป็นในการผ่าตัด การรักษาประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้มีภาวะหัวใจวายฉุกเฉิน ซึ่งใช้การสอดท่อพร้อมบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ จากนั้นจึงทำการสูบลมให้บอลลูนพองตัวขึ้นเพื่อช่วยผลักไขมันที่อุดตันออกจากหลอดเลือดหัวใจ
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดชนิดนี้มักใช้กับภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ หรือการทำบอลลูนไม่สามารถช่วยรักษาได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนเพื่อทราบถึงความจำเป็นในการรักษา การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้ปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump Coronary Artery Bypass: OPCAB) คือวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยม มีจุดประสงค์เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดเอง โดยไม่ต้องใช้ปอดหรือหัวใจเทียม ศัลยแพทย์จะต่อเส้นเลือดใหม่ข้ามผ่านจุดที่มีการอุดตันเดิม จึงทำให้กระแสเลือดไหลเวียนได้ตามปกติ กระบวนการนี้เป็นการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open-Heart Surgery) ส่วนใหญ่จึงใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนหลอดเลือดอุดตันมากเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ใช้สำหรับกรณีที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือหัวใจไม่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์หลังการผ่าตัดเพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจและผลข้างเคียง

ทำอย่างไรให้ห่างไกล “โรคหลอดเลือดหัวใจ”

การป้องกันตัวเองไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ในบางคนไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งคนที่เสพติดการใช้การใช้ชีวิตแบบที่ต้องสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารรสจัด มันจัด หวานจัดอยู่ตลอด จนเคยชิน

แต่ก็ใช่ว่าจะลด ละ เลิกไม่ได้ เพียงแต่ต้องทำไปทีละขั้นค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เสริมสิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่ร่างกาย งดของมัน ของทอด หันมารับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหาร รวมถึงหาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีฤทธิ์ช่วยเรื่องการลดไขมันในร่างกาย 

ภาวะ เส้นเลือด หัวใจ ตีบ

การออกกำลังกาย

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายมักมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะหัวใจวายได้มากถึง 2 เท่า การออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์เป็นเวลา 30–60 นาทีใน 4–5 วันต่อสัปดาห์ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินและควบคุมโรคเบาหวาน รวมถึงคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

รับประทานอาหารประเภทไขมันต่ำและกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืชที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว และโซเดียมในระดับต่ำ ซึ่งช่วยควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอกหรือลูกชิ้น เนย ชีส เค้กและอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว หรือ กะทิ
  • ลดและจำกัดปริมาณเกลือไม่เกิน 6 กรัมหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน เพื่อลดอัตราการเกิดความดันโลหิตสูง
  • รับประทานปลาที่มีกรดไขมันสูง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เชื่อกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าบุคคลทั่วไปควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 หน่วยบริโภค

นอกจากนี้ การรับประทานน้ำมันปลาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด ลดการอักเสบ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิต อีกทั้งน้ำมันปลาบางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มสารสำคัญเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น แอสตาแซนธินที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคในระบบหลอดเลือดหัวใจ หรือวิตามินอีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พร้อมทั้งจะช่วยให้น้ำมันปลาในร่างกายอยู่ในปริมาณที่คงที่

ปริมาณและความเหมาะสมในการรับประทานน้ำมันปลาจะขึ้นอยู่กับช่วงวัยของแต่ละบุคคล จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัย อีกทางเลือกหนึ่งที่คนยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพเลือกคือ การหาอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องการลดระดับไขมันในร่างกายมาดื่มเป็นประจำ Coffogenic Drink เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณลดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้อย่างเห็นผล ไม่ว่าจะดื่มเพื่อป้องกัน หรือดื่มเพื่อบรรเทา ซึ่งทางการแพทย์แนะนำให้ดื่มวันละ 1-2 ผล ติดต่อกัน1-2เดือน แล้วลองตรวจเลือดหาค่าไขมันดู คุณจะพบผลลัพท์ที่น่าตื่นเต้นอย่างมากจากระดับไขมันในร่างกายที่ลดลงและส่งผลให้สุขภาพของคุณดีขึ้นด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ

การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้  หรืออาการเจ็บจุกแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย

Coffogenic Drink ไม่มีผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งส่งผลดีหากผู้ป่วยได้ดื่มอย่างสม่ำเสมอ โดยปริมาณที่แพทย์แนะนำอยู่ที่ 1 – 2 ขวดต่อวัน

มักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย ๆ เหนื่อยง่ายหายใจถี่ นอนราบไม่ได้ เจ็บแน่นหน้าอก มักมีอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย

ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบตันและไม่สามารถรักษาทำการรักษาให้หายด้วยการใช้ยาผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการผ่าตัดเพื่ออาการที่ดีขึ้น

Coffogenic ไม่ได้มีส่วนช่วยรักษา แต่มีส่วนช่วยเสริมสุขภาพ และลดการเกิดภาวะของโรคได้

Coffogenic เป็นสารสกัดทางธรรมชาติ และมีสารออกฤทธิ์ที่ชื่อว่ากรดคลอโรจีนิค มีเป็นสารสำคัญที่ช่วยลดภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ และกรรมวิธีผลิตปลอดภัย และได้รับสารสำคัญอย่างเต็มที่

โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ coronary artery ตีบหรือตัน

ส่วนมากมักพบในเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปค่ะ จากผลสำรวจพบว่าเพศชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

ไม่สามารถรักษาได้ แต่ช่วยลด และป้องกันการเกิดโรคได้

เริ่มต้นแนะนำให้ทานวันละ 1 ขวด เพื่อป้องกัน และลดภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ช่วยลดการเกิดโรคได้ค่ะ เพราะในตัว Coffogenic มีสารช่วยในเรื่องดักจับไขมัน

Coffogenic Drink เป็นเครื่องดื่มที่มีสารคลอโรจีนิกซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชัน ซึ่งส่งผลในการช่วยยับยั้งการดูดซึมของไขมันในร่างกาย เมื่อไขมันถูกยับยั้งและถูกกำจัดออกจากร่างกาย ปริมาณไขมันเสีย LDL ที่เป้นตัวการทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันก็จะลดลง จึงส่งผลให้ผู้ดื่มมีสุขภาพที่ดีขึ้น

Coffogenic Drink ไม่ได้ช่วยในเรื่องการสูบฉีดเลือดในร่างกาย แต่เป็นตัวช่วยให้ไขมันที่ติดอยู่ตามผนังหลอดหลอดลดลง หรือเป็นตัวช่วยที่จะไปดักจับไขมันตัวร้าย ไม่ให้ไปพอกอยู่ในหลอดเลือดซึ่งเจ้าก้อนไขมันที่พอกในหลอดเลือดนั่นเอง คือตัวการที่ไปขัดขวางการสูบฉีดของเลือดในร่างกาย  แต่หากไม่มีไขมันไปอัดกั้น เลือดก็จะลำเลียง สูบฉีดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

ผู้ที่ป่วยโรคหัวใจอันเกิดจากตะกอนไขมันไปอุดตันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบตัน แนะนำให้ดื่ม Coffogenic วันละ 1- 2 ขวด เพื่อให้สารในเครื่องดื่ม Coffogenic เข้าไปช่วยยับยั้งไขมันตัวร้ายที่เป็นตัวการให้เกิดโรคหัวใจในผู้ป่วย

หากผู้ที่ดื่มเพื่อป้องกันการเกิดโรค แนะนำให้ดื่มที่ 1-2 ขวด ต่อเนื่องเป็นประจำ  แต่หากเป็นผู้ที่ป่วยเป็นโรคแล้ว แพทย์แนะนำให้ดื่มที่ 2 ขวด ติดต่อกัน 1-2เดือนแล้ววัดค่าไขมันดู คุณจะพบผลลัทธ์ที่ทำให้คุณตื่นเต้น  โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดื่ม Coffogenic คือ ช่วงเช้า และ เที่ยง หลังอาหาร