NCDs โรคไม่ติดต่อ ภัยเงียบจากพฤติกรรมสะสมของคุณ
NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ คือภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้าม มันไม่ได้เกิดสารพิษหรือการติดเชื้อโรคจากผู้อื่นแต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสมของตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม การกิน พฤติกรรมใช้ชีวิตที่สะสมจนกลายเป็นโรคร้าย จะเรียกง่าย ๆ ว่า “โรคที่เราสร้างเอง” ก็ได้
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องภัยเงียบอย่าง NCD โรคไม่ติดต่อตัวนี้กันในประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ เพื่อให้คุณได้รู้ทัน และหลีกเลี่ยงได้

ความหมายของโรคไม่ติดต่อ หรือโรค NCDs คืออะไร?
โรค NCDs หมายถึงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases คือ โรคที่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสมต่าง ๆ ของคนเราตั้งแต่ การบริโภคหวาน มัน เค็ม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ชีวิตต่าง ๆ ที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพ สั่งสมเป็นระยะเวลานาน จนร่างกายตอบสนองออกมาเป็นอาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคในกลุ่มนี้ ความน่ากลัวของกลุ่มโรค NCDs นี้คือ เมื่อใดก็ตามที่คุณเผลอเคยชินไปกับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เมื่อนั้นโรคกลุ่มนี้จะค่อย ๆ คืบคลานเข้ามา ค่อย ๆ ส่งสัญญาณเตือนเป็นอาการทีละนิด ๆ สะสมจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง พอรู้ตัวอีกทีคุณก็เป็นโรคนั้นไปแล้วแบบ 100%
กลุ่มโรค NCD สำหรับคนไทยเองก็ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพอันดับ 1 เลย เนื่องจากอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้จากปัญหาสุขภาพกลายเป็นปัญหาสังคม และกอปรเป็นปัญหาเศรษฐกิจในท้ายที่สุด หลายปีที่ผ่านนี้มีการดำเนินนโยบายและมาตรการจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน NGO จำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมกับภาคประชาชน เพื่อควบคุมโรค NCDs และทำให้ความเสี่ยงตรงนี้ลดลง
คำถามคือ แล้วถ้าทางแก้ปัญหานี้มันเริ่มจากเราล่ะ? จะเป็นไปไหม ถ้าเริ่มจากตัวเราเองที่ดูแลสุขภาพขึ้นไปทีละระดับ เราจะควบคุมมันได้ไหม คำตอบคือ “ได้” แต่จะทำยังไงนั้น ในบทความนี้มีคำตอบ…

รู้ทันโรคไม่ติดต่อเกิดจากอะไร?
ถ้าอยากเริ่มจากตัวเรา อันดับแรกเราต้อง “รู้ทันโรคไม่ติดต่อ” นี้กันก่อน รู้ทันว่าโรค NCDs เกิดจากอะไร โดยหลัก ๆ แล้วโรคไม่ติดต่อสาเหตุไม่ซับซ้อนเลย เพียงแค่ย้อนดูการใช้ชีวิตของตัวเรา ก็รู้ได้เลยว่าโรค NCDs เกิดจากสาเหตุใด? ซึ่งก็จะสามารถแจกแจงออกมาได้ทั้งหมด ดังนี้
การบริโภคหวาน เค็ม มัน
หากถามว่าสาเหตุโรค NCD มีอะไรบ้าง หนึ่งในสาเหตุที่ชัดเจนที่สุดคงหนีไม้พ้น พฤติกรรมการบริโภคที่มีความเสี่ยงคือการรับประทานอาการในปริมาณมากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย และการบริโภคอาหารรสชาติจัดจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นรสหวาน เค็ม มัน โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง พฤติกรรมดังกล่าวนี้ส่งผลให้ภายในร่างกายเรามีจำนวนกลูโคส คอเลสเตอรอล โซเดียมและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป และกลายเป็นตัวการให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในท้ายที่สุด
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
ใครว่าการนอนหลับไม่เกี่ยวข้อง ไม่จริง! เพราะการที่ร่างกายของเราจะได้เข้าสู่โหมดพักผ่อนนั้นสำคัญมาก และควรเป็นการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพด้วย หากแต่ทุกวันนี้ผู้คนส่วนใหญ่พบเจอกับปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอ เนื่องจากความเครียดสะสม ทำให้ร่างกายพักผ่อนอย่างไร้ประสิทธิภาพ หลับได้ไม่เต็มที่ ท้ายที่สุดระบบต่าง ๆ ของร่างกายก็จะรวนและทำงานผิดปกติ ทีนี้โรคต่าง ๆ ก็จะต่อแถมตามกันมา โดยเฉพาะโรคกลุ่มไม่ติดต่อตัวร้ายของเรา
การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ
หากขาดการออกกำลังกายไป ร่างกายของเราก็จะเต็มไปด้วยไขมันสะสมจำนวนมาก รวมถึงระบบเผาผลาญเองก็จะทำงานได้ไม่ดีด้วย
การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ไม่เคยส่งผลดีต่อสุขภาพเลย ยิ่งถ้าบริโภคทั้งดื่มทั้งสูบในปริมาณมาก ๆ นานวันไปร่างกายของเราจะรับไม่ไหวและแสดงอาการของโรค NCDs ต่าง ๆ มา เช่น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป ตับของเราก็จะทำงานหนัก และกลายเป็นโรคตับอักเสบในท้ายที่สุด ส่วนถ้าสูบบุหรี่มากเกินไป รับรองได้ว่าปอดของคุณจะเสียหายอย่างหนัก ผลที่ตามมาไม่มีคำว่าคุ้มค่าอยู่ในนั้นแน่นอน
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีโรคอะไรบ้างที่ต้องรู้
วิธีหลีกเลี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืออะไร?
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน: รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ในมื้ออาหารมากขึ้น ไม่ทานอาการรสจัด ลดหวาน เค็ม มัน
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา ไม่นอนดึกจนเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ปรับเปลี่ยนกิจกรรมเวลาว่าง: ออกกำลังวันละ 30 นาทีให้สม่ำเสมอ และหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง: ลดหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
- ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพื่อจะได้รู้ว่าสุขภาพของเราดีหรือไม่ หากเกิดความเสี่ยงจะได้ยับยั้งหรือชะลอการเกิดโรคได้ทัน

ข้อแตกต่างของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ มีข้อแตกต่างกันหลัก ๆ คือ โรคไม่ติดต่อจะเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสมส่วนบุคคลจนก่อให้เกิดโรค ส่วนสาเหตุการเกิดโรคติดต่อ จะเกิดจากการถ่ายทอดเชื้อโรคระหว่างบุคคล ส่วน ทั้งนี้แม้ว่าสาเหตุหลักจะเกิดจากเชื้อโรค แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดได้เช่นกัน หากไม่อยากเป็นโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรต่อสุขภาพให้มากขึ้น ทั้งเรื่องการกิน การนอน และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อยก็สามารถยับยั้งหรือชะลอการเกิดโรคทั้งสองประเภทนี้ได้
คำถามที่พบบ่อยของกลุ่มโรค NCDs
โรค NCDs คือโรคอะไร?
กลุ่มโรค NCDs คือ โรคไม่ติดต่อหมายถึงโรคที่เราสร้างขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการรับเชื้อโรคมาจากบุคคลอื่น ๆ หากแต่เกิดจากใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จนก่อให้เกิดโรค NCDs ในที่สุด พฤติกรรมของผู้ป่วย NCD คือการกิน การนอน การใช้ชีวิตทั่ว ๆ ไป หากแต่เป็นความสุ่มเสี่ยงสะสมและเรื้อรังจนเกิดโรค เช่น การกินของหวาน ของทอด ของมันเป็นประจำ การนอนดึกและไม่เป็นเวลา การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้แน่นอนว่าไม่ได้ส่งผลในทันทีที่ทำ แต่มันต้องสะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ ค่อย ๆ ให้ร่างกายส่งสัญญาณมาทีละเล็ก ทีละน้อย จนรู้ตัวอีกที ตัวเราก็ป่วยเป็นโรค NCDs ไปแล้ว
โรค NCDs มีความสํา คั ญอย่างไร?
ความสำคัญของโรคไม่ติดต่อคืออะไร? โรค NCD คือปัญหาสุขภาพระดับโลกที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างมาก ในไทยเองทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อควบคุมการเกิดโรคกลุ่มนี้ เนื่องจาก NCDs คือ โรคที่เกิดจากสิ่งใกล้ตัว เป็นความเคยชินของบุคคลหนึ่ง ๆ แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นปัญหาที่ย้อนกลับมาทำร้ายพวกเขาเอง และเพราะมันมาจากสาเหตุเล็ก ๆ มันจึงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงวิถีชีวิต งานหนักคือการสร้างความตระหนักเพื่อผู้คนรับรู้ว่าวิถีชีวิตในรูปแบบนี้มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นเรื่องยาก แต่สามารถทำได้ สำหรับ Hillkoff เองเราเป็นเหมือน NGO ที่ต้องการสร้างเกราะป้องกันในด่านแรก ๆ ให้ เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมากที่จะคิดค้นเครื่องดื่มอาหารเสริม จนได้มาเป็น Coffogenic Drink ที่มีสารประกอบสำคัญในการยับยั้งและชะลอการก่อตัวของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ได้
ใครบ้างเสี่ยงเป็นผู้ป่วย NCDs บ้าง?
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคือบุคคลในวัยทำงาน อาจเป็นเพราะความเครียดสะสม และเวลาในการดูแลตัวเองมีน้อย ทำให้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพทั้งในเรื่องการกิน การนอน และกิจกรรมในแต่ละวัน และส่งผลให้เกิด NCDs ตามมาในท้ายที่สุด
โรคไม่ติดต่อ NCDs หมายถึงโรคประเภทใด?
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอะไรบ้าง? คำตอบนั้นง่ายเพราะ หลาย ๆ โรคนั้นเราต่างคุ้นหูกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ภาวะไขมันในเลือดสูง, โรคไขมันพอกตับ, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคอ้วนลงพุง อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ใช่ว่าโรคพวกนี้จะเป็นโรคธรรมดาทั่วไป เพราะมันอันตรายมากและคร่าชีวิตคนไปหลายล้านแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่าน จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งที่ภาครัฐต่างตระหนักกันอย่างมาก ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCD แนะนำว่าให้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงตั้งแต่วันนี้ และหันมาดูแลตัวเองกันได้แล้ว