You are currently viewing โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แค่เปลี่ยนพฤติกรรมก็เลี่ยงได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แค่เปลี่ยนพฤติกรรมก็เลี่ยงได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ กลุ่มโรค NCDs นับว่าเป็นกลุ่มโรคที่พบเจอได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40+ ที่พบว่าป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากที่สุด ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค NCDs ส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง ที่จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ และจะค่อย ๆ สะสมอาการไปเรื่อย ๆ พอนานวันเข้าก็จะทวีคูณความรุนแรง และก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว 

ซึ่งเราเชื่อว่ามีหลายคนอาจไม่คาดคิดว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน มีผลต่อการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งวันนี้ Hillkoff จะพาทุกคนมาดูพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิด โรคติดต่อไม่เรื้อรัง พร้อมบอกแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงก่อให้เกิดโรคกัน จะเป็นอย่างไรบ้างตามเรามาดูกันเลย 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคร้ายที่เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หมายถึง กลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือแบคทีเรียแต่อย่างใด ซึ่งโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือแบคทีเรีย จะไม่สามารถติดต่อ หรือแพร่กระจายโรคสู่ผู้อื่นได้ แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะเกิดจากนิสัย หรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่มีผลต่อการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ โดยที่จะคอยสะสมอาการจนทวีคูณความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ในที่สุด 

ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ กลุ่มโรค NCDs ส่วนใหญ่จะมีด้วยกันทั้งหมด 10 โรคด้วยกัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคอ้วนลงพุง, โรคไตเรื้อรัง, โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และผู้คนรอบข้างได้ 

พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นชนวนก่อให้เกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 

โดยสาเหตุสำคัญของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็น 

พฤติกรรมการกินอาหาร 

ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารรสจัด ไม่กินผักผลไม้อย่างเพียงพอ กินอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารปิ้งย่าง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงโรคอ้วนได้

โรคติดต่อไม่เรื้อรัง

ขาดการออกกำลังกาย 

การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ เนื่องจากการไม่ออกกำลังกายจะทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และทำให้การไหลเวียนโลหิตน้อยลงด้วย 

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวันหลังเลิกงาน หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากในทุกช่วงโอกาสก็มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่าง โรคไขมันพอกตับ เกิดพังผืดในตับ ทำให้เป็นโรคตับแข็งได้ นอกจากนี้หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปยังเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดจังหวะอีกด้วย 

การสูบบุหรี่ 

รู้หรือไม่? พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน จะก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่าง โรคมะเร็งปอด หรือโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากสารพิษ นิโคตินในบุหรี่จะเข้าไปทำลายปอดทำให้เกิดโรคต่าง ๆ นั่นเอง 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ภาวะความเครียด 

ภาวะความเครียดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพบเจอได้ในทุกวัน จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุง เป็นต้น 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โดยพฤติกรรมดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นชนวนสาเหตุก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แม้ว่ากลุ่มโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรง แต่ถ้าหากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง ก็เสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้ เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้คร่าชีวิตของคนไทยไปกว่า 300,000 คนต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เรียกได้ว่าเป็นโรคไม่ติดต่อที่รุนแรงไม่ใช้น้อย 

ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่เราสร้างขึ้นมาเองจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ดังนั้น การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค ดังนี้ 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นทานผัก และผลไม้ที่ไม่มีรสชาติหวานจัด ก็จะช่วยควบคุมไม่ก่อให้เกิดไม่ติดต่อเรื้อรังได้ดี 
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสจัด การทานอาหารปิ้งย่าง และอาหารที่มีไขมันสูง อย่าง ยำ, ส้มตำ, เนื้อย่าง หรือหมูกระทะ เป็นต้น 
  • ลดการกินอาหารรสเค็มจัด โดยให้ควบคุมปริมาณโซเดียมต่อวันไม่ควรเกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา 
  • ลดการกินอาหารรสหวานจัด โดยให้ควบคุมปริมาณน้ำตาลต่อวันอยู่ที่ 20 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชา 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน โดยในหนึ่งวันให้ออกกำลังกายขยับร่างกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือให้ออกสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ก็จะช่วยให้คุณห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน โดยแนะนำว่าในหนึ่งวันควรจะดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
  • คุณจะห่างไกลโรค NCDs ได้มากกว่าเดิม หากคุณหลีกเลี่ยง หรืองดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดโรคร้ายที่คร่าชีวิตคุณได้ 
  • พยายามหาสิ่งบันเทิงใจ อาทิ การฟังเพลง ดูหนัง ทำสวน ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ หรือทำอาหาร เพื่อช่วยคลายเครียดให้คุณมีสุขภาพจิต และสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ 

อย่างไรก็ตาม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs ถือเป็นภัยเงียบตัวร้ายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งใครมีพฤติกรรมดังกล่าวก็แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ แต่โรค NCDs สามารถป้องกันให้ห่างไกลได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยให้คุณหันมาดูแลใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น หมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงอยู่เสมอ

รวมทั้งยังหาตัวช่วยดี ๆ อย่าง Coffogenic Drink เครื่องดื่มที่สกัดมาจากเนื้อผลกาแฟเชอร์รี่เข้มข้น เป็นตัวช่วยชะลอการเกิดโรค NCDs หรือช่วยควบคุมไม่ให้อาการทวีคูณความรุนแรงขึ้น เพราะ Coffogenic จาก Hillkoff ได้มีการค้นคว้าวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าเปลือกของเมล็ดกาแฟเชอร์รี่ มีสาร Chlorogenic Acid เป็นสารที่ช่วยควบคุมภาวะไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงภาวะอักเสบ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หากสนใจ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ Line: @coffogenic