โรคเบาหวาน เป็นภาวะหนึ่วในกลุ่ม โรค NCDs ที่พบมากในปัจจุบัน และรบกวนการใช้ชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน เพราะคนเป็น โรคเบาหวาน กินอะไรได้บ้าง จะถูกจำกัดการรับประทานอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ หากเกิน หรือน้อยเกินไป จะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้
อีกทั้ง โรคเบาหวานยังมีผลข้างเคียงตามมามากมาย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ทุกคนสามารถเป็นโรคเบาหวานได้ ทางที่ดีเราควรรู้วิธีป้องกันตนเองจากโรคชนิดนี้ โดยวันนี้ Hillkoff จะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจาก โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้หากพร้อมแล้ว ไปดูกัน
ไขความกระจ่าง ! เบาหวานเกิดจากอะไร ทำความรู้จักก่อนหาวิธีป้องกัน
- โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้ด้วยการรักษาสมดุลอินซูลิน
อินซูลิน (Insulin) ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่ออินซูลินมีความผิดปกติ เช่น มีอินซูลินลดลงในร่างกาย หรือในกรณีที่ร่างกายไม่ค่อยตอบสนองต่ออินซูลิน (ภาวะดื้ออินซูลิน) ทำให้การลำเลียงน้ำตาลไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ
- โรคเบาหวาน ป้องกัน ยังไง หากเป็นตามพันธุกรรมไปแล้ว
เนื่องจาก โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ติดต่อได้ทางพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัว คนใดคนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน ลูกจะมีโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง โรคเบาหวาน แต่สามารถดูแลตัวเอง เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ จากการควบคุมพฤติกรรมการทานอาหาร ลดการทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล หันมาออกกำลังกายบ่อยมากขึ้น และสำรวจร่างกายตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที
วลีจดจำ ! หวานขึ้นตา หวานตัดขา ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่ทุกคนคุ้นเคย
- เบาหวานขึ้นตา
ภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน โดยโรคนี้ทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดเยอะเกินไป จึงเกิดการอุดตันในกระแสเลือด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ เส้นเลือดที่จอประสาทตา (Retina) จึงได้รับความเสียหายไปด้วย ในช่วงแรกอาจไม่พบอาการ หรือมีการมองเห็นผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้ และไม่ได้รับการรักษาจนมีอาการรุนแรง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
- อาการของภาวะเบาหวานขึ้นตา
- มองเห็นจุด หรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
- มองเห็นภาพบิดเบี้ยว
- ตามัว การมองเห็นแย่ลง สายตาไม่คงที่
- แยกแยะสีได้ยากขึ้น
- ภาพที่มองเห็นมืดเป็นแถบ ๆ
- สูญเสียการมองเห็น
- แผลเบาหวาน
ลักษณะของโรคเบาหวาน คือ ผู้ป่วยจะมีอาการชาบริเวณปลายมือ และปลายเท้า ทำให้เมื่อเกิดแผล ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวด หรือรู้สึกตัว อีกทั้งหลอดเลือดดำก็ทำงานผิดปกติ ทำให้เมื่อเกิดแผล เลือดจะไหลเวียนไปยังบริเวณแผลได้ไม่เพียงพอ ซึ่งกว่าที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวแผลที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการเน่า และติดเชื้อ จึงต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้ง เพื่อไม่ให้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ และช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ เพราะหากไม่ตัดอวัยวะที่ติดเชื้อทิ้ง เชื้อเหล่านั้นอาจเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
และสาเหตุที่ผู้ป่วยส่วนมากถูกตัดขา เพราะ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ จึงมีไขมัน และน้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยสลาย โดยไขมัน และน้ำตาลเหล่านี้ จะจับตัวอยู่ตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบ และแข็งจนเกิดการอุดตัน โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า เป็นอวัยวะที่เกิดแผลได้ง่าย เพราะต้องสัมผัสกับพื้นอยู่ตลอด และเป็นอวัยวะที่อยู่ไกลสายตา ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันได้สังเกตหากเกิดแผลขึ้นมา
ทำได้หายห่วง ! โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้ด้วยการทำแบบนี้
โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้ด้วยวิธีการมากมาย โดยทำได้แบบไม่ยุ่งยาก เพราะสาเหตุของการเกิด โรค NCDS มาจากการรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นหากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินได้ จะช่วยป้องกันการเกิดโรค อีกทั้งเรื่องของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ เราจึงต้องดูแลตัวเองให้ดีทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ
- ป้องกันโรคร้าย ด้วยการออกกำลังกาย
สิ่งที่เหมือนเป็นโล่ป้องกันจากทุกโรคภัย คือ การออกกำลังกาย เพราะทำให้สุขภาพดีขึ้น การทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ตามปกติ เลือดไหลเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกำลังกาย ยังช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม
- โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้ด้วยการปล่อยวาง
ความเครียด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้ ดังนั้นการทำใจให้สงบ และผ่อนคลาย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน แม้ว่าความเครียดจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การปล่อยวางได้เร็ว และหาวิธีผ่อนคลาย ย่อมดีต่อสุขภาพของตนเองทั้งในด้านจิตใจ และด้านร่างกาย
- รู้ทันโรคเบาหวาน เจอก่อนรักษาก่อน
การรู้เท่าทันโรค เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันการลุกลามได้ดีที่สุด เพราะการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยลดอัตราความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งมีหลายระดับ หากเราตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะทำให้รู้ได้เร็ว และรักษาได้ทันเวลา ช่วยยับยั้งอาการที่จะไปสู่ระยะท้าย ๆ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจะทรมานขึ้น และใช้ชีวิตได้ลำบาก
- ลดน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรง
โรคอ้วน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน หากเป็นทั้งสองโรคนี้จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้น หากรับรู้ว่าตนเองมีน้ำหนักมากเกินไป ควรพยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง และปลอดภัย ไม่ปล่อยให้ตัวเองอ้วนจนใช้ชีวิตลำบาก และเสี่ยงเป็นโรครุนแรงต่าง ๆ
- เติมคุณค่าทางโภชนาการด้วยอาหารกากใย
สำหรับคำถามที่ว่า โรคเบาหวาน กินอะไรได้บ้าง คำตอบที่เหมาะสมที่สุดก็คือ อาหารกากใย ได้แก่ อาหารประเภทผัก และผลไม้ โดย โรคเบาหวาน ป้องกัน ได้ด้วยการกินอาหารประเภทนี้ เนื่องจากมีน้ำตาลน้อย และย่อยง่าย จึงช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด
- กินอย่างพอดี ไม่มีจุบจิบ
กินอาหารตามมื้อ โดยปกติคนเราจะกินข้าว 3 มื้อต่อวัน ไม่ควรกินอาหารจุกจิกจนกลายเป็นกินตลอดเวลา เพราะการกินอาหารตามมื้อ และตามเวลา จะช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาล และช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ทำงานอย่างเป็นระบบ
- งด ลด เลิก แอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีส่วนผสมของน้ำตาลจำนวนมาก หากดื่มเป็นประจำจะทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งยังเป็นเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ และสติสัมปชัญญะ แต่หากต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมควรดื่มนาน ๆ ครั้ง หรือหลีกเลี่ยงได้จะยิ่งดีต่อร่างกาย
- น้ำอัดลมและน้ำหวาน เลี่ยงได้ เลี่ยง
ถึงแม้น้ำอัดลม และน้ำหวาน จะไม่ทำให้มึนเมาเหมือนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ก็มีข้อเสียเท่า ๆ กัน เพราะการดื่มน้ำหวานเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ดังนั้นโรคเบาหวานจึงป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำอัดลม และน้ำหวาน