You are currently viewing แนะนำเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมัน

แนะนำเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมัน

โรคไขมัน มีอันตรายมากกว่าที่คิด เมื่อร่างกายมีไขมันสะสมมากกว่าปกติ อาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ดังนั้น การรับประทานอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไขมันต้องใส่ใจ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะการคัดสรรเมนูอาหารไขมันต่ำ จะช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ดี ทั้งยังช่วยให้สุขภาพดีขึ้นในระยะยาว

บทความสาระน่ารู้ในวันนี้ Hillkoff จะพาทุกคนมาเช็กเมนูอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไขมัน ว่าควรรับประทานเมนูไหนบ้าง พร้อมแนะนำเคล็ดลับการเลือกทานอาหารให้ถูกวิธี เพื่อการรักษาโรคไขมันในเลือดได้อย่างตรงจุด และเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จะเป็นอย่างไรไปดูกัน

สาระน่ารู้ ! ผู้ป่วยโรคไขมัน เลือกทานอย่างไรให้ห่างไกลโรค

หากคุณมีภาวะไขมันในเลือดสูง หรือกำลังรักษาโรคไขมัน อาจคิดว่าการรักษาด้วยการออกกำลังกายนั้นเป็นวิธีที่ยากเกินไป ซึ่งทาง Hilkoff เรามีวิธีการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี และการรักษาโรคไขมันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้ 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัว

เชื่อว่าหลายท่านคงรู้กันแล้วว่า ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย เพื่อการรักษาโรคไขมันให้หายขาด ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ไม่ควรหักดิบเลิกรับประทานที่มีไขมันอิ่มตัวในทันที เนื่องจากร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และรับประทานอาหารไม่ครบหลักโภชนาการ

สำหรับอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูง และผู้ป่วยโรคไขมันควรหลีกเลี่ยง ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารที่ทำมาจาก เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เบเกอรี และน้ำมัน อาทิ มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

โรคไขมัน มักเกิดจากระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายที่สูงเกินไป ซึ่งการเลี่ยงเมนูอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น ไข่แดง ไข่ปลา ตับ ไต สมอง และเครื่องในสัตว์ ควรจำกัดปริมาณการรับประทานให้พอเหมาะ และไม่ควรรับประทานบ่อยจนเกินไป หากเลี่ยงไม่ได้ลองเปลี่ยนมาทานเมนูที่ทำจากไข่ขาวแทน 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ นับเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่ช่วยขจัดความเครียดของใครหลายคน ถึงอย่างนั้นเครื่องดื่มประเภทนี้กลับส่งผลเสียมากมายให้แก่ร่างกาย เพราะร่างกายจะเปลี่ยนปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม กลายเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ทั้งยังเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง หากเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน 

  • เลือกทานอาหารที่มีเส้นใยสูง

การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไขมันในเลือดได้ดี เนื่องจาก อาหารประเภทนี้มีไขมันน้อย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินที่สำคัญแก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง รำข้าวโอ๊ต และถั่ว ทั้งนี้ การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงในปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน จะช่วยลดไขมันในเลือด และลดระดับคอเลสเตอรอลได้ราว 5-15% เลยทีเดียว 

แนะนำ 8 เมนูสำหรับผู้ป่วยโรคไขมัน ลดไขมันได้ด้วยตัวเอง

การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเมนูอาหารสุขภาพที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไขมัน มีด้วยกัน 8 เมนู ดังนี้

  1. ต้มจับฉ่ายกระดูกหมู

เมนูต้มจับฉ่ายกระดูกหมู เป็นเมนูผักที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์จากผักนานาชนิด เช่น กะหล่ำปลี หัวไชเท้า ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ขึ้นฉ่าย เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันที่ต้องการควบคุมอาหาร และชอบรับประทานอาหารไทย เพราะต้มจับฉ่ายเป็นเมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร

  1. แกงเลียงกุ้งสด

หากพูดถึงเมนูอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคไขมัน คงต้องยกให้เมนูแกงเลียงกุ้งสด เนื่องด้วยส่วนประกอบของแกงเลียง เต็มไปด้วยผักหลากชนิด และให้พลังงานต่ำ แต่มีใยอาหารสูง ขณะเดียวกันก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะ วิตามิน และแร่ธาตุ ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์เมนูอาหารไทยให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วย

  1. ปลานึ่งจิ้มแจ่ว

ปลานึ่งจิ้มแจ่ว หนึ่งในเมนูอาหารไทยที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดไขมันได้ดี เนื่องมาจากปลานึ่งส่วนใหญ่มักใช้ปลานิล ซึ่งให้โปรตีนได้ดีกว่าเนื้อไก่ และเนื้อหมู อีกทั้งไขมันต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว และช่วยลดความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 

  1. ผัดผักบุ้งไฟแดง

ผัดผักบุ้งไฟแดง นับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากมาย เนื่องจากผักบุ้งประกอบไปด้วย วิตามินเอ และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย สามารถลดน้ำตาล และลดคอเลสเตอรอลในเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไขมันควรรับประทานผัดผักบุ้งไฟแดงที่ปรุงสุกเอง โดยเลือกน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง และใช้เครื่องปรุงสูตรที่มีโซเดียมต่ำ

  1. โจ๊กไข่ขาว

แม้ว่าผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดปริมาณการทานไข่แดง แต่ก็สามารถรับประทานไข่ขาวได้ทุกวัน เมนูโจ๊กไข่ขาวจึงตอบโจทย์ผู้ป่วยโรคไขมันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากไข่ขาวมีโปรตีนอัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ 

  1. แกงส้มผักรวม

ในส่วนของเมนูแกงส้มผักรวม จัดเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ เนื่องจากส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นผัก ทั้งยังมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อกุ้ง ทำให้เมนูแกงส้มอุดมไปด้วยวิตามินเอจากผัก ช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย วิตามินซีจากน้ำมะขาม ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 จากเนื้อสัตว์ที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และใยอาหาร ตัวช่วยสำคัญที่คอยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย

  1. ข้าวต้มปลากะพงขาว

ข้าวต้มปลากะพง เรียกได้ว่าเป็นเมนูที่อุดมไปด้วยโปรตีน และไขมันดี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้เนื้อปลากะพงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบำรุงสมอง เพราะมีกรด DHA ที่ช่วยในเรื่องการพัฒนาสมอง ความจำ และยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในร่างกาย ถือเป็นเมนูยอดฮิตที่ช่วยควบคุมไขมันในเลือดได้ดีอย่างยิ่ง